วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สถาปนิกรุ่นพี่Idol



           การสัมภาษณ์ครั้งนี้ฉันได้รับความกรุณาจาก พี่วอก จาก บริษัท TANDEM ARCHITECTS 2001
           พี่วอกมีชื่อจริงว่า คุณทวีศักดิ์  วาสนาวิจิตร  รหัส 19  จบปีการศึกษาตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2524  บ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง
           พีวอกเรียนหลักสูตรต่อเนื่องของสถาปัตย์ลาดกระบัง คือเรียนจบ ปวส.แล้วมาเรียนต่อปี 4 ปี 5 ที่ลาดกระบัง สมัยก่อนนั้นในประเทศไทยยังมีที่สอนสถาปัตย์ค่อนข้างน้อยแห่ง  เเละสถาปัตย์ลาดกระบังนั้นเป็นสถาบันเดียวในสมัยนั้นเท่านั้นที่เปิดหลักสูตรต่อเนื่อง พี่วอกจึงสอบเข้าลาดกระบัง

ฉัน : ทำไมพี่วอกถึงอยากเข้าเรียนคณะสถาปัตย์คะ
พี่วอก : พี่ชอบวาดรูปตั้งเเต่เด็กพี่จึงเข้าคณะสถาปัตย์ 

ฉัน : พอเข้าเรียนเเล้วรู้สึกอย่างไรบ้างคะ
พี่วอก : ก็รู้สึกชอบและคิดว่าเป็นสาขาที่เราเรียนได้

ฉัน : พอพี่วอกเรียนจบเเล้วพี่วอกเรียนต่อหรือว่าทำงานเลยคะ
พีี่วอก : จบมาเเล้วพี่ทำงานเลย เริ่มไปทำงานที่บริษัท Design group เจ้าของเป็นรุ่นที่ลาดกระบังเเต่ตอนนี้ไม่เเน่ใจว่ายังมีบริษัทนี้อยู่รึเปล่า ต่อจากนั้นก็ไปอยู่ที่ Design 103 เจ้าของคือ คุณ ชัชวาล ต่อจากนั้นก็มาอยู่ที่Tandem ทำงานที่นี่มา 5 ปีเเล้ว

ฉัน : ลักษณะงานในการปฏิบัติวิชาชีพ ทำงานด้านไหนบ้างคะ
พี่วอก: เป็นสถาปนิกฝ่ายออกแบบมาโดยตลอด คือออกแบบ
เป็นหน้าที่หลักโดยไม่ได้ไปติดต่อลูกค้าหรือเขียนแบบ แล้วก็ไม่ได้บริหาร

ฉัน : งานหรือผลงานที่พี่วอกคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฎิบัติวิชาชีพ อย่างเช่นงานของพี่วอก หรืองานที่พี่ชื่นชอบมีผลงานไหนบ้างคะ
พี่วอก: อืม  ถ้าเป็นงานของตัวเองออกแบบตอนนี้ยังไม่มีตัวไหนที่ชอบมาก แต่ถ้าคิดคราวๆก็คิดว่าเป็นสนามฟุตบอลในร่ม ที่บางนาตราด เพราะเป็นช่วงเเรกๆที่สนามฟุตบอลบูม ทำอะไรที่มันง่ายๆ ราคาถูก เเละน่าสนใจ

ฉัน: แล้วงานอื่นๆที่พี่ชื่นชอบหล่ะคะ
พี่วอก : งานที่เราดูเเล้วเราถูกใจก็มีของสถาปนิกหลายคน เช่น ของเร็มคูลฮาส Zaha hadid แล้วก็สถาปนิกชื่อดังต่างๆ

ฉัน : ในการปฏิบัติงานพี่วอกมีอุปสรรคบ้างไหมคะ
พี่วอก : ถ้าเป็นในแง้ส่วนตัว ก็มีเรื่องเวลา ที่เราต้องเร่งส่งงานให้ทันตามกำหนดเวลาแล้วก็ต้องระวังเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาด้วย เหมือนกับอุปสรรคที่เราต้องเอาชนะมันให้ได้ ไม่งั้นมันจะได้งานที่ไม่ดี ไม่ตรงต่อเวลา ไม่ได้คุณภาพ เเต่ถ้าเป็นในเเง้ teamwork อุปสรรคของคนทำงานก็คือ ทีมมักไม่ค่อยเเช็งเเรงมักเปลี่ยนคนอยู่บ่อยๆ เช่น คนหนุ่ม-สาว สมัยนี้ที่เข้ามาทำงานใหม่มักจะเข้ามาเอาประสบการณ์ เข้ามาเอา reference ใส่ผลงานของตัวเองทำงานเเค่ 1-2 ปี แล้วก็ออกไปทำงานที่อื่นที่ได้เงินเดือนมากกว่า หรือ ได้ประสบการณ์ที่ดีกว่า จึงเป็นอุปสรรคของteamwork

ฉัน : ข้อคิดที่สำคัญในการทำงานของพี่วอกคืออะไรคะ
พี่วอก : ถ้าจะประสบความสำเร็จก็ต้องมีความรักในวิชาชีพ  ทุ่มเทกับงานที่เราทำอย่างเต็มที่เพื่อให้งานที่ออกมาดีเเละมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ

ฉัน : เเล้วพี่วอกมีความคิดเห็นอย่างไรกับจรรยาบรรณวิชาชีพคะ
พี่วอก : จรรยาบรรณวิชาชีพก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการประกอบวิชาชีพนี้ ทุกคนจะต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพของตนเองไม่ทำอะไรที่มันผิด เพราะว่าจรรยาบรรณวิชาชีพจะเป็นมาตราฐานของบุคคลทั่วไป ประกอบอาชีพด้วยคุณธรรมเเละจริยธรรมคนทั่วไปถึงจะยอมรับเรา เชื่อถือเรา ถ้าเราทำสิ่งที่ผิดต่อจรรยาบรรณ เข่น รับคอมมิตชั่น ตัดราคาหรือต่างๆ มันก็ไม่เป็นผลดีต่อวิชาชีพ

ฉัน : เเล้วพี่วอกมีความคิดเห็นอย่างไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งเเวดล้อมคะ
พี่วอก : การออกเเบบเพื่อสิ่งเเวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบันเพราะทรัพยากรของเราเริ่มหมดไป จึงต้องหาสิ่งที่มาทดเเทน ให้สร้างมลพิษให้น้อยที่สุด มีผลกระทบน้อยที่สุด คือสถาปัตยกรรมยั่งยืนที่เค้ากำลังทำรณรงค์กันอยู่

ฉัน : สุดท้ายนี้ ชอบวิชาชีพนี้ไหมคะ
พี่วอก : ยังรักเเละชอบในวิชาชีพนี้อยู่ มีความภาคภูมิใจในอาชีพนี้ ถือว่าตั้งเเต่ตัดสินใจเข้ามาเรียนทางนี้เป็นวิชาชีพที่ตรงตัวเราที่สุดเเล้ว เเละไม่คิดที่จะไปทำอาชีพอื่น
ฉัน : ค่ะ ขอบคุณสำหรับการสัมภาษณ์ในครั้งนี้มากเลยค่ะ


ตัวอย่างผลงานของพี่วอก
Aeronautical radio of thailand ltd.

Airports authority of thailand (head office)

Katamanda Gardens

Khun vinit lertattanachai residence

Le royal maritime

Maantawan

Phuphatara

The vimanlay

V44 tower



วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

NFPA(National Fire Protection Association)



NFPA คืออะไร?

               NFPA เป็นชื่อย่อของ National Fire Protection Association ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 หรือ 108  ปีมาแล้ว เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร
ภารกิจหลักของ
NFPA
คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
  
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย

โดยรหัสของมาตรฐานที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เช่น



มาตรฐานที่สมควรติดตั้ง ในการป้องกันอัคคีภัย เพื่อความปลอดภัย และป้องกันความเสียหายแก่ทรัพย์สิน

โดยมีขอบเขตของเนื้อหาดังนี้
1) การตรวจสอบอาคารทั้งถาวร และชั่วคราว ในเรื่องของกระบวนการ เครื่องมือ และระบบ และสถานภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต

2) การสืบสวนข้อเท็จจริง กรณี เหตุการณ์ ไฟไหม้ ระเบิด และวัสดุอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน

3) ทบทวนแบบก่อสร้าง และข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัย การเข้าถึง ระบบจ่ายน้ำ กระบวนการของวัสดุอันตราย เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต

4) การให้การศึกษาในเรื่อง ไฟ และความปลอดภัยในชีวิต แก่อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่ว

5) เงื่อนไข การออกแบบ และก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงสำหรับอาคารที่มีอยู่เดิม

6) การออกแบบ, ปรับปรุง, แก้ไข, ก่อสร้าง, บำรุงรักษา, และทดสอบเครื่องมือ และระบบป้องกันอัคคีภัย

7) ความต้องการทางเข้าสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

8) อันตรายจากเพลิงไหม้ภายนอก ในพืช ขยะ ซากปรักของอาคาร และวัสดุอื่นๆ

9) ระเบียบ ตลอดจนการควบคุมการจัดกิจกรรมพิเศษ ไม่รวมถึง การชุมนุมชน งานแสดงสินค้า สวนสนุก และกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆในลักษณะชั่วคราว และถาวร

10) วัสดุตกแต่งภายใน และเครื่องเรือน และวัสดุติดไฟง่าย ซึ่งมีส่วนทำให้ไฟลาม เป็นพาหะนำไฟ และทำให้เกิดควัน

11) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุไฟไว ทั้งชนิดก๊าซ ของเหลว และของแข็ง

12) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุอันตราย

13) การควบคุมการดำเนินงาน และสถานการณ์ฉุกเฉิน

14) ผลกระทบต่อความปลอดภัยของนักผจญเพลิง

15) การจัดการ การออกแบบ การก่อสร้าง และ เปลี่ยนแปลงวิธีการของทางออกใหม่ และที่มีอยู่เดิม

 
NFPA 54, National Fuel Gas Code

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการติดตั้งก๊าซเชื้อเพลิง
 
 
 
NFPA 70®, National Electric Code®

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ที่ทั่วโลกยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด

โครงสร้างของคู่มือการใช้เครื่อง

             คู่มือการใช้ประกอบด้วยบทนำ เก้าบท annexes A ผ่าน H และดัชนี บทนำสู่การตั้งค่าไปวัตถุประสงค์ ขอบเขต บังคับ และกฎ หรือข้อมูลที่อยู่ทั่วไปในธรรมชาติ บทสี่ครั้งแรกครอบคลุมข้อกำหนดและกฎสำหรับการติดตั้ง (voltages เชื่อมต่อ เครื่อง ฯลฯ), วงจร และป้องกันวงจร วิธีการ และวัสดุสำหรับสาย (สายอุปกรณ์ conductors สายเคเบิ้ล ฯลฯ), และอุปกรณ์ทั่ว (ไฟ receptacles สวิทช์ heaters ฯลฯ) บทสามเกี่ยวกับspecial occupancies (high risk to multiple persons), อุปกรณ์พิเศษ (เครื่องหมาย เครื่องจักร ฯลฯ) และเงื่อนไขพิเศษ (ระบบฉุกเฉิน alarms ฯลฯ) บทที่ 8 มีเฉพาะในข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการติดต่อสื่อสารระบบ (หมายเลขโทรศัพท์ วิทยุ/โทรทัศน์ ฯลฯ) และบทที่ 9 ประกอบด้วยตารางสิบเกี่ยวกับผู้ควบคุมวงสายเคเบิลและรางคุณสมบัติ ระหว่างสิ่งอื่น ๆ annexes A-G เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอ้างอิง คำนวณ ตัวอย่าง ตารางเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานที่เหมาะสมของบทความรหัสต่าง ๆ
               บทนำสู่บทที่ 8 เป็นครั้งแรกประกอบด้วยบทความลำดับเลข ชิ้นส่วน ส่วน (หรือรายการ หรือตาราง) italicized ข้อยกเว้น และปรับการพิมพ์บันทึกย่อ (FPN) – คำอธิบายที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกฎ บริการกำกับบทความจะใส่ ด้วยตัวเลขและตัวอักษร เป็น ###.###(A)(#)(a) เช่น 804.22(C)(3)(b) ไม่สามารถอ่านเป็น "ส่วนจุด 804 22(C)(3)(b) ." และจะพบในบทที่ 8 สำหรับการอ้างอิงภายใน บางบทความยาวมากจะเพิ่มเติมแตกออกเป็น "ส่วน" ด้วยตัวเลขโรมัน (parts I, II, III ฯลฯ)
 
 
 
NFPA 72 , National Fire Alarm and Signaling Code
 
                มาตรฐาน NFPA 72 เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในแวดวงคนทำระบบ Fire Alarm ของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หรือหน่วยงานใดๆก็ตามจะเป็นต้องปฏิบัติและทำตามข้อกำหนดในการวางระบบ Fire Alarm ภายในอาคาร โดยเนื้อหาของ NFPA 72 หรือ National Fire Alarm Code จะครอบคลุมและกล่าวถึงอุปกรณ์ การออกแบบ การติดตั้ง ตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ ประสิทธิภาพ การแจ้งเตือน รหัสต่างๆที่สำคัญ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาของระบบทั้งหมด ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในระบบเป็นมาตรฐานเดียวกันและรับทราบถึงข้อกำหนดต่างๆที่ต้องปฏิบัติตาม

                มาตรฐาน NFPA 72 ถูกแบ่งออกเป็น 11 หัวข้อหลักๆด้วยกัน โดยหัวข้อแรกๆจะพูดถึงขอบเขตของข้อกำหนด จุดประสงค์ และความหมายของศัพท์ต่างๆ อาทิเช่น Alarm, Sloping Ceilings, Automatic Fire Detectors, Emergency Voice, Transmitter, Remote Supervising Station Service, และอื่นๆอีกมากมาย เนื้อหาหลักๆที่เกี่ยวข้องจะเริ่มที่บทที่ 4 หรือ “Fundamentals of Fire Alarm Systems" โดยจะเน้นไปเรื่องการส่งสัญญาณต่างๆและไฟต่างๆที่จะต้องใช้ในการแสดงผลบนหน้าจอ รวมไปถึงการ design และการเดินสายไฟในการประกอบและการติดตั้ง อีกทั้งยังการสำรองไฟฟ้าในกรณีเหตุฉุกเฉิน

                 หัวข้อต่อมาคือ “Initiating Devices" หรืออุปกรณ์ Smoke Detector ที่จะต้องทำการออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่ตามความเหมาะสมและข้อกำหนด และยังมีการแบ่งประเภทของ Heat Sensing Fire Detector โดยจะแบ่งออกเป็น 7 ระดับตั้งแต่อุณหภูมิต่ำสุดจนอุณหภูมิสูงสุด และมีสีเป็นตัวบ่งบอกของแต่ละประเภท และยังมีตารางกำหนดระยะห่างของ Detector ของความสูงของเพดานที่แตกต่างกันออกไป ในบทต่อมาคือ “Protected Premises Fire Alarm Systems" จัดได้ว่าสำคัญมากทีเดียวเพราะจะแบ่งประเภทของระบบ Fire Alarm ออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน โดยจะแบ่งออกเป็น Class (A และ B), Style (4,6,7) กล่าวถึงประเภทและชนิดของการเดินสายไฟวงจร, และ Signaling Paths
                  บทที่ 7 เป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแจ้งเตือนในกรณีเกิดเหตุ Alarm ตามพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป้ายเตือนธรรมดา ป้ายเตือนแบบมีแสงสว่าง เสียงตามสาย โดยจะมีตารางกำหนดขนาดของห้องและแต่ละขนาดและความสูงก็จะมีข้อบังคับแตกต่างกันออกไปในเรื่องของอุปกรณ์แจ้งเตือนเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งของความหนาของตัวอักษรตามป้ายเหล่านี้ก็ยังต้องมีข้อกำหนดว่าต้องหนาเท่าไหร่ในระยะที่เท่าไหร่ บทต่อไปคือ “Supervising Station Fire Alarm Systems" ซึ่งเป็นข้อกำหนดของระบบศูนย์กลางของ Fire Alarm โดยจะคำนึงเส้นทางการส่งสัญญาณจากแต่ละสถานที่และเก็บประวัติต่างๆของแต่ละ Alarm หรือเหตุการณ์ และยังกล่าวถึงการแบ่งแยกสัญญาณที่ถูกส่งมาจากแต่ละสถานที่ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้เพื่อให้ระบบไม่เกิดข้อขัดข้องและผิดพลาด

                   หัวข้อ “Public Fire Alarm Reporting Systems" เป็นหัวข้อของบทที่ 9 โดยจะเป็นลักษณะคล้ายกับบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์และการออกแบบเพียงแต่บทนี้จะเป็นเรื่องของระบบ Fire Alarm ในที่สาธารณะและจะมีข้อแตกต่างออกไปเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น ชนิดของ Smoke Detector หรือ สัญญาณการส่ง Signal ซึ่งอาจจะไม่ต้องศึกษาเจาะลึกมากนักเนื่องจากไม่ใช่ application สำหรับ Data Center

                     ต่อไปในบทที่ 10 จะพูดถึงการทำ Inspection ตรวจสอบและบำรุงรักษาของระบบ Fire Alarm โดยชี้แจงว่าควรคำนึงถึงอุปกรณ์อะไรบ้างและในการทดสอบระบบจะต้องปฏิบัติอย่างไร และบทที่ 11 หรือ “Single and Multiple Station Alarms and Household Fire Alarm Systems" จะเป็น application ที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีไว้สำหรับระบบ Fire Alarm ที่ไว้ติดตั้งตามบ้านเรือนหรือที่พักอาศัย








Life Safety Code®


การตรวจสอบมาตรฐานขั้นต่ำในการป้องกัน ไฟ ควัน และสารพิษ สำหรับอาคาร

NFPA 704


               เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่างๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่ายๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง


สัญลักษณ์
มี 4 รหัสสีเฉพาะดังนี้
ความไวไฟ ความไวต่อปฏิกิริยาโดยจะบอกเป็นระดับตัวเลขตั้งแต่ 0 (ไม่มีอันตราย เป็นสารธรรมดา)ถึง 4 (มีอันตรายมากที่สุด)

 น้ำเงิน - สุขภาพอนามัย

   4  : ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้นๆ อาจถึงตายได้หรืออาการสาหัส (เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์)
   3 : ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้น ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือ ถาวร (เช่น ก๊าซคลอรีน)
   2 :ได้รับเป็นช่วงๆ หรือต่อเนื่องแต่ไม่ประจำ อาจเป็นสาเหตุให้ไร้ความสามารถชั่วขณะ หรือเป็นอันตรายแบบถาวรได้ (เช่น ก๊าซแอมโมเนีย)
   1 : ได้รับแล้วอาจทำให้เกิดระคายเคือง และอาจทำให้เกิดแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น (เช่น น้ำมันสน (turpentine))
   0 : ได้รับขณะร้อนไม่เกิดอันตรายเท่าไร (เช่น น้ำมันถั่วลิสง (peanut oil))

 แดง - ความไวไฟ

       4 : สารที่สามารถระเหยได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ในสภาพความดันและอุณหภูมิปกติ หรือกระจายในอากาศและเผาไหม้ได้โดยง่าย มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 23°C (เช่น โพรเพน)
       3 : ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถลุกติดไฟได้ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิปกติ จุดวาบไฟอยู่ระหว่าง 38 - 23°C (เช่น น้ำมันเบนซิน)
       2 : สารที่ต้องให้ความร้อนปานกลางถึงสูงจึงสามารถลุกติดไฟได้ จุดวาบไฟอยู่ระหว่าง 93 - 38°C (เช่น น้ำมันดีเซล)
      1 : สารที่ต้องให้ความร้อนสูงเป็นเวลานานจึงสามารถลุกติดไฟได้ จุดวาบไฟสูงกว่า 93°C (เช่น น้ำมันคาโนล่า)
     0 : สารที่ไม่ติดไฟ (เช่น อาร์กอน)


    เหลือง - การเกิดปฏิกิริยาเคมี

        4 รุนแรงมาก : อาจระเบิดหรือทำปฏิกริยาได้ง่ายที่อุณหภูมิและความดันปกติ
     
        3 รุนแรง : อาจระเบิดได้หากได้รับความร้อนสูงและอยู่ในที่อับ อาจทำปฏิกริยากับน้ำแล้วระเบิดได้ 
        2 ปานกลาง : สารไม่เสถียรและอาจทำปฏิกริยารุนแรงหรือเกิดสารที่ระเบิดได้หากทำปฏิกริยากับน้ำ 
       1 เล็กน้อย : ปกติเป็นสารที่เสถียร แต่ที่อุณหภูมิและความดันสูง จะกลายเป็นสารที่ไม่เสถียร ทำปฏิกริยา กับน้ำแล้วให้ความร้อน
       0 น้อยมาก : ไม่ติดไฟ
      ....................................................


       การตรวจสอบระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำคัญอย่างไร?

               การบริหารจัดการอาคารให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยนั้น นอกจากการออกแบบและการก่อสร้างที่ถูกต้องแล้ว ยังมีกระบวนการที่สำคัญอีกกระบวนการหนึ่งคือ การตรวจสอบระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยประจำอาคารโดยหน่วยงานที่มี ประสิทธิภาพหรือบุคคลากรที่ได้รับการอบรมฝึกฝน  การตรวจสอบระบบดังกล่าวต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริหารอาคารได้ทราบถึงสถานภาพความพร้อมของระบบ เพื่อที่จะสามารถรักษาระดับความปลอดภัยของอาคารมิให้เสื่อมถอยลง

       ประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยที่เสื่อมถอยลงนั้น มีสาเหตุจากปัจจัยอะไรบ้าง? 


               - นโยบายการบริหารที่ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอำนวยความสะดวก ระบบเทคโนโลยีอันทันสมัย และภาพลักษณ์ของอาคาร

                - ระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคาร เสื่อมประสิทธิภาพไปตามระยะเวลา
       
             -ระบบขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีและตามกำหนดเวลา อันเนื่องมาจากนโยบายการบริหารจัดการ และคุณภาพของบุคคลากรระดับช่างบำรุงรักษา


      ทำไมจึงไม่สามารถควบคุมการลุกลามของไฟและควันในกรณี อัคคีภัยโรงแรมรอยัลจอมเทียน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ถึง 91 ศพ?

                  จากข้อมูลการสอบสวนของ NFPA พบว่า อาคารโรงแรมดังกล่าวเป็นอาคารที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบความปลอดภัยจาก อัคคีภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นกระบวนการปรกติที่ไม่แตกต่างจากอาคาร ทั่วไป แต่ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยดังกล่าวไม่ทำงานขณะเกิดเหตุ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แจ้งว่า ไม่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย และไม่มีน้ำในระบบดับเพลิง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ไม่สามารถควบคุมการลุกลามที่รวดเร็วของไฟได้ทำให้ เกิดความเสียหายทั้ง 91 ชีวิตที่มิอาจทดแทนและธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ต้องเสียหายและหยุดชะงักลง  NFPA ได้สรุปและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญข้อหนึ่งคือการตรวจสอบระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยในอาคาร



      ข้อมูลอ้างอิงจาก